อักษรโบราณ

  อักษรรูน

Vaksalastenen

อักษรรูน หรือ อักษรรูนิก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่า หมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน จารึกอักษรรูนที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 643 แต่จารึกส่วนใหญ่อยู่ในราว พ.ศ. 1600 พบทั้งยุโรปตั้งแต่แหลมบอลข่าน เยอรมัน สแกนดิเนเวีย ไปจนถึงอังกฤษ ทิศทางการเขียนช่วงแรกผันแปรมาก โดยมากอยู่ในแนวซ้ายไปขวา ไม่มีการแบ่งช่องว่างระหว่างคำมากนัก โดยอาจมีการใช้จุดหนึ่งจุดหรือมากว่า จารึกที่พบมีทั้งจารึกบนผาสูง หินขนาดใหญ่ สิ่งก่อสร้าง จารึกทางศาสนาและเวท

มนตร์ จารึกเกี่ยวกับการค้าและการเมือง จดหมายส่วนบุคคล ข้อความสั้นๆและจารึกในงานศิลปะ

edrfthr2

รูปแบบ

runes

อักษรรูนมีหลายรุปแบบดังต่อไปนี้

  • อักษรฟูทาร์กรุ่นแรก (Elder Futhark) เป็นรูปแบบเก่าสุดที่พบในยุโรป ที่เป็นบ้านเกิดของเผ่าเยอรมัน รวมทั้งสแกนดิเนเวีย รูปแบบอื่นๆอาจพัฒนาไปจากรูปแบบนี้
  • อักษรรูน โกธิก ใช้เขียนภาษาโกธิกที่เป็นภาษาเยอรมันตะวันออก แต่จุดเริ่มต้นยังไม่ชัดเจน จารึกอักษรนี้เหลืออยู่น้อยมาก ถูกแทนที่ด้วยอักษรอื่นเมื่อราว พ.ศ. 900
  • อักษรฟูทาร์ก แองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon Futhorc) มีการเพิ่มอักษรบางตัวเข้ามาเพื่อใช้เขียนภาษาแองโกล-แซกซอน ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ คาดว่าอักษรนี้เข้าไปในอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 1000 และใช้มาจนถึง พ..ศ. 1600 มักพบบนเครื่องประดับ ก้อนหิน อาวุธ และอื่นๆ
  • อักษรฟูทาร์กรุ่นใหม่ (Younger Futhork) พัฒนาจากอักษรรุ่นเก่า และคงตัวอยู่จนถึง พ.ศ. 1300 เป็นอักษรหลักในนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินเมื่อศาสนาคริสต์แพร่ไปถึง อักษรใน 3 ประเทศนี้ต่างกันเล็กน้อย

หลังพุทธศตวรรษที่ 23 การใช้อักษรรูนลดน้อยลง เมื่อศาสนาคริสต์แพร่หลายเข้ามา อักษรรูนถูกโยงเข้ากับเวทมนตร์คาถาซึ่งต้องถูกกำจัด ในปัจจุบันมีการฟื้นฟูการใช้อักษรรูนอีกครั้งแต่ใช้ในการพยากรณ์.

อักษรรูนกับศาสตร์ลึกลับ

6

อักษรรูนถือเป็นอักษรศักดิ์ลิทธิ์ของกลุ่มชนชาติที่ใช้ภาษากลุ่มเยอรมัน มีการนำชื่อเทพเจ้าต่างๆ มารวมเข้ากับชื่ออักษร ต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในสแกนดิเนเวีย มีการสลักอักษรรูนไว้ในเหรียญกษาปต์ โลงศพ หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ในยุคนาซีมีการฟื้นฟูการใช้อักษรรูนอีกครั้ง แต่เมื่อนาซีหมด อำนาจก็เสื่อมความนิยมไป จนปัจจุบันการทำนายด้วยอักษรรูนเป็นที่นิยมและนำกลับมาศึกษากันอีกครั้ง มีการกำหนดวิธีทำนายมากมาย เช่น การโยนกิ่งไม้เพื่อให้เกิดเป็นรูปอักษรรูนหรือสุ่มหยิบก้อนหินที่สลักรูป อักษรรูนไว้

อักษรรูน

ถอดเสียง

IPA

ชื่อ

ความหมาย

ความหมายที่ใช้ในการทำนาย

f

/f/ fehu เฟฮู ปศุสัตว์ ความมั่งคั่งร่ำรวย

u

/u (ː)/ ?*ūruz อูรุศ กระทิงป่า พลังอำนาจ

þ

/θ/, /ð/ ?*þurisaz ธูรีสัศ ยักษ์ อาณาเขต ขอบเขต

a

/a (ː)/ ansuz อันสุศ เทพองค์หนึ่ง สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

r

/r/ *raidōไรโด ขี่ การเดินทาง

k

/k/ ?*kaunan คาวนัน คำสาบาน ความต้องการได้รับและถ่ายทอดความรู้

g

/g/ *gebō เกโบ ของขวัญ การให้และรับ

w

/w/ *wunjō วุนโย ความสุข รักแท้ ข่าวดีครอบครัวที่มีความสุข

h

/h/ *hagalaz ฮอกลา ลูกเห็บ ความโง่เขลา หวาดกลัว เหตุการณ์ประหลาด

n

/n/ *naudiz นาวดิศ ความทุกข์ ความสงสัย ไม่มั่นใจในความปลอดภัย

i

/i (ː)/ *īsaz ไอสัศ น้ำแข็ง ความล่าช้า

j

/j/ *jēra- เยรัน ปี การจบสิ้นและการเกิดใหม่

ï (or æ)

/æː/ (?) *ī (h) waz/*ei (h) waz เอวัศ จามจุรีสีม่วง ความสำเร็จ ความเจริญก้าวหน้า

p

/p/ ?*perþ- เพร์โธ ปริศนา ความลับ

z

/z/ ?*algiz อัลจีศ กวางมูส การบำบัดรักษา การปกป้อง

s

/s/ *sōwilō โสเวโล พระอาทิตย์ ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย

t

/t/ *tīwaz/*teiwaz ไทวัศ เทพทอร์ การผูกมัดด้วยคำสัญญา คำสาบาน

b

/b/ *berkanan เบอร์คานัน ไม้เบิร์ช การกำเนิดใหม่ ข่าวดี

e

/e (ː)/ *ehwaz เอะวัศ ม้า การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี

m

/m/ *mannaz มันนัศ มนุษย์ ความรอบคอบ รัดกุมการคิดให้มากขึ้น

l

/l/ *laguz ลาวนัศ พืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอม ความรักที่เก็บซ่อนไว้ภายใน

ŋ

/ŋ/ *ingwaz อิงวัศ ผู้ชาย สุขภาพ ความกินดีอยู่ดี ชื่อเสียงโด่งดัง

o

/o (ː)/ *ōþila-/*ōþala- โอธาลา แผ่นดิน การสักการบูชาที่สำคัญ เหตุการณ์ที่ขึ้นกับเวลา

d

/d/ *dagaz ดากัศ วัน ความสุข ความรุ่งเรือง

อ้างอิง

……………………………………………………………………………..

อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม

อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม

อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม เป็นระบบการเขียน ที่หลากหลาย เป็นได้ทั้ง อักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ – พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” มาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่า ลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติค ตระกูลอินโด – ยุโรเปียน และอื่นๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น

  • อักษรสุเมเรีย
  • อักษรอัคคาเดีย/ บาบิโลเนีย/ อัสซีเรีย (เซมิติคตะวันออก)
  • อักษรอีลาไมต์
  • อักษรเอบลาไอต์
  • อักษรฮิตไตน์
  • อักษรฮูร์เรีย
  • อักษรอูตาร์เตีย
  • อักษรยูการิติค (ระบบพยัญชนะ)
  • อักษรเปอร์เซียโบราณ (ส่วนใหญ่ใช้แทนพยางค์)

ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณ อูรุก (Uruk) นิปเปอร์ ซูซา และเออร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้ พัฒนามาจาก ระบบการนับ ที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในเมโสโปเตเมีย โดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบน และแผ่นซ้อน

  • แบบแผ่นแบน เป็นรูปแบบโบราณ พบตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณกว้าง ตั้งแต่ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่า คล้ายกับว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทางเกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช
  • แบบแผ่นซ้อน เป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมาย เริ่มพบในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของเมโสโปเตเมีย ใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูป ซึ่งพบในบริเวณ ที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เช่น สุเมเรีย ตัวอย่างที่เก่าสุด พบในวิหารเทพีอินอันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ ของชาวสุเมเรีย ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหารใช้บันทึก เกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าของวิหาร

แผ่นดินเหนียวเหล่านี้ ถูกเก็บในห่อที่แข็งแรง ทำด้วยดินเหนียว เรียกว่าบุลลา (bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลา หลังการผนึกทำได้ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียว ลงบนผิวนอกของบุลลา ในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดินเหนียวเข้าไปข้างใน และปิดผนึก การนับจำนวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้ง ใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวสุเมเรียได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจำนวน เช่นรูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า “แกะ 5 ตัว” ใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ

From Orality to Written Tradition (จากวัฒนธรรมภาษาพูด สู่วัฒนธรรมภาษาเขียน)

มีสุภาษิตลาตินอยู่บทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ verba volant, scripta manent ” ซึ่งแปลความหมายได้ว่า “ความพูดล่องลอยสาปสูญ แต่ความเขียนยังคงอยู่” อันเป็นสุภาษิตที่ใช้ในความหมายเป็นการตักเตือนผู้คนให้มีความระมัดระวังใน การกระทำของตนเอง ด้วยการทิ้งร่องรอยทั้งที่เป็นวัตถุ ความคิดเห็น หรือสิ่งที่บ่งบอกถึงข้อเท็จจริงบางประการ อันอาจเป็นสิ่งที่จะมีผลร้ายต่อตนเองได้ในภายหลัง

แต่หากเราจะตีความสุภาษิตนี้ในอีกแง่หนึ่ง จะพบว่าสุภาษิตข้างต้นได้ให้ข้อคิดบางด้านที่น่าสนใจไม่น้อย กล่าวคือ เป็นการสะท้อนถึงด้านที่เป็นลักษณะพิเศษของความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม 2 กระแสที่ดำรงอยู่ในรูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการมาจากอดีตจนถึง ปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมที่กล่าวถึงนี้ คือ “วัฒนธรรมภาษาพูด” และ “วัฒนธรรมภาษาเขียน”

“ภาษาพูด” เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดแรก และดั้งเดิมที่สุดที่มนุษย์ใช้สื่อสารระหว่าง กัน จากการสื่อเรื่องราวและเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ ไปจนถึงการสื่อความหมายที่เป็นนามธรรม ซี่งมองไม่เห็น หากเป็นการสื่อเกี่ยวกับความคิดอ่าน ความรู้สึกและประสบการณ์ภายในของคน อันจัดเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมและเป็นกระแสหลักของมนุษยชาติ ส่วน “ภาษาเขียน” เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอันเป็นประดิษฐกรรม(invention)ของมนุษย์ที่เกิด ขึ้นมาภายหลังภาษาพูด ซึ่งพัฒนาการของวัฒนธรรมภาษาเขียนของมนุษย์เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในแต่ละแหล่ง อารยธรรมต่างๆของโลก

UploadImage

ภาษาพูดคือเครื่องมือสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์

ในบรรดาภาษาพูดซึ่งมีอยู่ประมาณ 3000 ภาษาในโลกนี้ มีภาษาเขียนอยู่เพียงประมาณ 100 ภาษาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในแถบเอเชีย, ยุโรป และอาฟริกาทาตอนเหนือ และในบรรดาภาษาเขียนที่มีอยู่นี้ “ภาษาไท” ก็เป็นภาษาหนึ่งที่รวมอยู่ในนั้น

งานเขียนชิ้นนี้ ผู้เขียนมุ่งในการนำเสนอถึงพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมด้านการเรียนรู้ของ มนุษย์ท่ามกลางสภาพธรรมชาติที่หลากหลาย มนุษย์เรียนรู้จากธรรมชาติและสร้างวัฒนธรรมอันเป็นสิ่งสร้างทางภูมิปัญญาของ มนุษย์ทั้งที่เป็นสิ่งสร้างที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ (material and non-material invented)ที่เกิดขึ้นด้วยสมองและสองแขนของมนุษย์ในทุกหนแห่งและในทุกกระแส อารยธรรม

ซึ่งมรดกวัฒนธรรมที่ดั้งเดิมและเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ ก็คือ ประดิษฐกรรมทางภาษา ซึ่งเริ่มจากการคิดภาษาพูดและพัฒนามาเป็นการคิดและสร้างภาษาเขียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ถ่ายทอด สืบทอด จดจำความคิดความรู้และวิทยาการของมนุษย์จากยุคสมัยหนึ่งไปสู่ยุคสมัย หนึ่ง….

การก่อกำเนิดและพัฒนาการของภาษาเขียน                

หลักฐานบ่งบอกถึงการปรากฏของการบันทึกเรื่องราวของมนุษย์ด้วยภาษาเขียน สามารถย้อนหลังไปถึงประมาณกว่า 3000 ปีก่อนการเริ่มต้นของคริสตกาล จากหลักฐานที่ค้นพบ ภาษาเขียนในยุคแรกๆเป็นการจารึกเรื่องราวไว้บนแผ่นดินเหนียว ซึ่งพบในแถบ Tell Brak ในดินแดนเมโสโปเตเมียตอนเหนือ (ซึ่งก็คือดินแดนที่อยู่ในประเทศอีรัคในปัจจุบัน)

การค้นพบการบันทึกในยุคที่ไล่เลี่ยกันนี้ ปรากฏหลักฐานจากอักษรซูเมเรียน(Sumerian)ซึ่งเป็นอักษรคูนีฟอร์ม (cuneiform) หรือมีลักษณะเป็นอักษรภาพ อันเป็นอักษรที่มีอายุไล่เลี่ยกับการก่อเกิดแห่งรัฐในอียิปต์ยุคโบราณ

UploadImage

อักษรคูนิฟอร์มที่จารึกเรื่องราวบนแผ่นดินเหนียวในเมโสโปเตเมีย

ตามติดมาด้วยการประดิษฐ์อักษรเฮโรกริฟฟิคขึ้นมาใช้โดยชาวอียิปต์ อักษรที่คิดขึ้นหลังสุดนี้ได้ใช้สำหรับการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติอียิปต์ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับด้านวรรณกรรม การแพทย์ ปฏิทิน ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์และคณิคศาสตร์

UploadImage

อักษรภาพ (hierogrypphic) ของอียิปต์โบราณ

เป็นยุคที่เริ่มการใช้กระดาษในการบันทึกเรื่องราว โดยทำขึ้นจากต้นปาปิรุส(papyrus) คำว่า “paper” ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า “papier” ในภาษาฝรั่งเศส  ซึ่งแปลว่า “กระดาษ” ก็มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า “papyrus” ในภาษาอียิปต์นั่นเอง….

ในแถบเอเชียใต้ หลักฐานของภาษาเขียนที่จารึกบนแผ่นดินเหนียว พบในแถบลุ่มน้ำสินธุ อันเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญในดินแดนนี้ มีอายุนับย้อนหลังไปกว่า 2500 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นระยะเดียวกันกับความเจริญของอารยธรรมบรอนซ์ ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่บ่งบอกว่าว่ามีบันทึกด้วยภาษาเขียนในดินแดนแถบหลังนี้

ส่วนภาษาเขียนในยุคหลังๆจากนี้เกิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลาง (หรือปาเลสไตน์ปัจจุบัน) เริ่มจากภาษาเฟนีเซียน (Phoenician) ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อประมาณ 14 ศตวรรษก่อนคริสตกาล และเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนพระค้มภีร์ไบเบิ้ลนั่นเอง

เฟนิเซียน หรือ เฟนีซี เป็นกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งของดินแดนเฟอนิเซียโบราณ (บริิเวณประเทศซีเรีย เลบานอน และอิสราเอลในปัจจุบัน) เป็นชนที่ประกอบอาชีพค้าขายซึ่งสันนิษฐานว่าเดินทางมามากอ่าวเปอเซียเมือง ประมาณ 3 พันปีก่อนคริสต์กาลและมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในดินแดนแห่งนี้ รวมทั้งเดินทางแสวงโชคไปตั้งหลักแหล่งในที่แห่งอื่นๆในแถบอาฟริกาเหนือ ดินแดนอนาโตเลีย (ตุรกีและดินแดนจากทะเลดำจนถึงเมดิเตอร์เรเนียน) และไซปรัส

ชาวเฟนิสีมักนิยามค้าขายสินค้าพวกไม้ เสื้อผ้า ด้าย งานเย็บถักปักร้อย เหล้าองุ่น (ไวน์) เครื่องประดับ งาช้างและไม้แกะสลักซึ่งเป็นความชำนาญพิเศษของชนกลุ่มนี้ นอกจากนั้นงานช่างทำทองและช่างเหล็กก็เป็นที่เลื่องลือในฝีมือของชนกลุ่มนี้ ในยุคนั้น อักษรของชาวเฟนีเซียนี้เป็นแบบแผนของอักษรกรีกในช่วงหลังจากนั้น

และอีกประมาณแปดศตวรรษหลังจากการเกิดภาษาเฟนิเซียน (คือประมาณเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาล) มีการประดิษฐ์ภาษาลาตินขึ้นมาใช้ในดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน และก่อนหน้านี้ไม่นาน ภาษาสันสกฤต (Sanskrit) ก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใช้แล้วในดินแดนเอเชียใต้ (อินเดีย) อันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับการก่อตั้งสำนัก “ตักศิลา”[1] อันเลื่องชื่อ

สำหรับในดินแดนจีนอันกว้างใหญ่ไพศาล แม้ว่าหลักฐานการบันทึกจะปรากฏมาก่อนสมัยคริตกาลถึงประมาณ 1500 ปี (โดยเป็นการจารึกเรื่องราวลงบนกระดูก เปลือกหอยและบรอนซ์ ซึ่งค้นพบในแถบมณฑลอันหยาง) แต่อักษรจีนที่เป็นรากฐานของภาษาเขียนและมีพัฒนาการมาจนถึงทุกวันนี้ เพิ่งจะได้รับการทำให้เป็นแบบแผน (uniformatization) อย่างจริงๆเมื่อกว่าสองศตวรรษก่อนคริสตกาลในสมัยราชวงศ์จิ๋น (Qin) ภายหลังที่ได้รวบรวบจีนเป็นปึกแผ่นเพียงหนึ่งปี

UploadImage

อักขรภาษาจีนบนแผ่นกระดูก อายุกว่า 1700 ปี ก่อนคริสต์กาล ค้นพบที่เืมืองอันหยาง มลฑลเหอหนาน ทางตอนเหนือของจีน

ส่วนภาษาอาหรับ เป็นภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้หลังการเริ่มของคริตกาลมาแล้วถึงเกือบ 5 ศตวรรษ คือมีการประดิษฐ์ขึ้นใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.483 หรือนับเป็นเวลาประมาณ 80 ปีก่อนชาติกาลขององค์นาบีมูฮัมหมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม
ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้เห็นว่าบรรดาภาษาเขียนที่มีอยู่อย่างหลากหลายนั้น ต่างถือกำเนิดเกิดขึ้นมาตามแหล่งอารยธรรมสำคัญๆของโลก ไม่ว่าจะเป็นในแถบตะวันออกกลางและเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียกลางและเอเชียใต้นั่นเอง

การประดิษฐ์ “ภาษาเขียน” จึงถือเป็นนวัตกรรมทางปัญญาที่สำคัญของมนุษย์ในอันที่จะใช้เป็นเครื่องมือใน การธำรงรักษา รวมทั้งถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด-ความเชื่อ และวิทยาการต่างๆ อันเป็นความทรงจำร่วมที่ดำรงอยู่ควบคู่กับมนุษย์ในแต่ละเชื้อชาติและเผ่า พันธุ์

ด้วยเหตุนี้ การที่ชนชาติและเผ่าพันธุ์มนุษย์เผ่าพันธุ์ใดมี “ภาษาเขียน” เป็นของตนเอง สิ่งนี้จึงเป็นเสมือนตัวชี้วัดตัวหนึ่งของความเจริญรุ่งเรืองแห่งอารยธรรม มนุษยชาติของชนชาตินั้น ทั้งยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมของ มนุษย์จากจุดเริ่มต้นของการเริ่มมีภาษาเขียนใช้จนถึงพัฒนาการอื่นๆของสังคม ที่เกิดขึ้นตามมาในยุคหลังๆ

อ้างอิง

http://yuttapoomsose.wordpress.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E

0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0

%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1/

 …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
อักษรมายา (Mayan script) อารยธรรมมายาอยู่ ในช่วง พ.ศ. 43 – 1743 โดยยุคคลาสสิคอยู่ในช่วง พ.ศ. 843 – 1443 อักษรมายารุ่นแรกที่พบอายุราว พ.ศ. 293 แต่อาจพัฒนามาก่อนหน้านี้ การค้นพบของนักโบราณคดีในปัจจุบันพบว่า อารยธรรมมายาน่าจะเริ่มต้นราว 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช ราว พ.ศ. 2109 บิช็อปคนแรกแห่งยูคาตัน ดีโก เด ลันดา เรียบเรียงวิธีเขียนภาษามายาด้วยอักษรละตินแบบสเปน 27 ตัว และรูปอักษรมายาที่มีเสียงเดียวกัน เป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาว่าอักษรลันดา และช่วยในการถอดความจารึกภาษามายานักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอักษรมายาไม่ใช่ระบบการเขียนที่สมบูรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2493 นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซีย ยูริ วาเลนติโนวิช คโนโรซอฟ ( Yuri Valentinovich Knorosov) เสนอว่า อักษรมายาใช้เขียนภาษามายายูคาแทซ แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จนช่วง พ.ศ. 2513 – 2532 มีความก้าวหน้าในการถอดความมากขึ้น จนส่วนใหญ่สามารถอ่านได้แล้วในปัจจุบัน

ลักษณะ

อักษรมายามี 550 ตัว (แทนคำทั้งคำ) และ 150 ตัวแทนพยางค์ 100 ตัวแทนชื่อสถานที่และชื่อเทพเจ้า ราว 300 ตัวใช้โดยทั่วไป ตัวอย่างของอักษรพบตามจารึกหินและเขียนบนเปลือกไม้ เครื่องปั้นดินเผา และเอกสารบางส่วนในกัวเตมาลา เม็กซิโก และภาคเหนือของเบลิซ หลายพยางค์เขียนด้วยรูปอักษรมากกว่า 1 ตัว เขียนในคอลัมน์คู่ อ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างในแนวซิกแซก

อักษรมายา

ระบบเลขมายา

ในอารยธรรมมายาก่อนยุคการค้นพบของโคลัมบัส ใช้ระบบเลขฐานยี่สิบ

ระบบเลขมายานี้ใช้สัญลักษณ์สามแบบ คือ ศูนย์ (สัญลักษณ์รูปร่างเปลือกหอย) , หนึ่ง (จุด) และห้า (เส้นขีดยาว)

สำหรับตัวอย่าง ตัวเลข 19 จะเขียนจุดสี่จุดเป็นแนวนอนอยู่เหนือเส้นขีดยาวสามเส้นซ้อนทับกัน (รูปซ้าย เลข 19)

เลขมายา เลขอารบิก
. 1
.. 2
3
…. 4
_ 5
. 6
.. 7
8
…. 9
_ _ 10
._ _ 11
.._ _ 12
…_ _ 13
…._ _ 14
_ _ _ 15
._ _ _ 16
.._ _ _ 17
…_ _ _ 18
…._ _ _ 19

อ้างอิง

http://writer.dek-d.com/dath/story/view.php?id=603841

http://writer.dek-d.com/dath/story/viewlongc.php?id=603841&chapter=3

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ 

ดาวน์โหลด (9)

ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้
เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา
คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด

ภาษาเปอร์เซียโบราณ (Old Persian) เป็นภาษาในจารึกซึ่งค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีอายุราว 600-500 กว่าปีก่อนคริสตกาล ภาษานี้มีอายุไล่เลี่ยกับภาษาบาลีในอินเดีย และมีลักษณะโครงสร้างทางภาษาที่คล้ายกันมาก เปอร์เซียโบราณเป็นภาษาของชาวอิหร่านที่พัฒนาขึ้นในสมัยกลาง วิวัฒนาการมาจากภาษาอเวสตะซึ่งเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ

การจัดจำแนก

ภาษาเปอร์เซียโบราณอยู่ในภาษากลุ่มอิหร่านโบราณ ซึ่งเป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้

วิวัฒนาการของภาษา

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 ช่วงราชวงศ์อะแคมินิดตอนปลาย จารึกของอาร์ทาเซอร์เซสที่ 2 และที่ 3 มีความแตกต่างจากภาษาที่พบในจารึกของพระเจ้าดาริอุสมหาราชมากพอที่จะเรียกภาษาก่อนเปอร์เซียกลาง หรือภาษษหลังเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียโบราณนี้ ต่อมาจะพัฒนาไปเป็นภาษาเปอร์เซียกลาง และจะไปเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่อีกทอดหนึ่ง ศาสตราจารย์ Gillbert Lazard นักวิชาการที่มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาอิหร่านและเป็นผู้เขียนไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียได้กล่าวไว้ว่า

ภาษาที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่าภาษาเปอร์เซียใหม่ซึ่งมักจะเรียกในช่วงแรกของยุคอิสลามว่าภาษาปาร์ซี-ดารีสามารถจำแนกทางภาษาศาสตร์ว่ามีความเชื่อมโยงกับภาษาเปอร์เซียกลาง ซึ่งเป็นภาษาทางราชการและทางศาสนาในอิหร่านยุคซัสซาเนียน ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่เป็นภาษาในสมัยราชวงศ์อาแคมินิดอีกต่อหนึ่ง ภาษาเปอร์เซียทั้งสามช่วงแสดงความเป็นภาษาเดียวกันอย่างต่อเนื่อง จุดกำเนิดอยู่ที่ฟาร์ และมีความแตกต่างทางด้านลักษณะและสำเนียงที่ชัดเจนจากสำเนียงอื่นๆที่พบทางอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออก

ภาษาเปอร์เซียกลางหรือบางครั้งเรียกภาษาปะห์ลาวี มีการพัฒนาโดยตรงมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณ และใช้ในการเขียนอย่างเป็นทางการของประเทศ การเปรียบเทียบพัฒนาการในแต่ละขั้นตอนของภาษาแสดงคงามเหมือนกันทางด้านไวยากรณ์และประโยค

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93

ใส่ความเห็น